ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016

การจัดหิ้งพระในบ้านอย่างไรให้เป็นสิริมงคลกับเจ้าของ

           บ้านแต่ละหลังย่อมมีหิ้งพระ หรือมากกว่านั้นอาจจะมีหิ้งเทพ หิ้งรูปบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แต่ก็ยังพบปัญหาว่าหลายคนไม่ทราบว่าควรจัดวาง ตั้งหิ้งพระไว้บริเวณใดของบ้านถึงเหมาะสมและเป็นมงคลกับชีวิต รวมถึงอาจเผลอวางหิ้งพระผิดที่ผิดทางจนเกิดความไม่เป็นมงคลได้ Lanna Sculpture เลยรวบรวมคำแนะนำเรื่องการจัดหิ้งพระให้เหมาะสมและเป็นมงคลต่อเจ้าของบ้าน 1.หมั่นดูแลหิ้งพระให้สะอาดอยู่เสมอ หลายจุดในบ้านเจ้าของบ้านให้ความสำคัญแต่บางครั้งหลงลืมตำแหน่งของหิ้งพระ ดังนั้นต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาดองค์พระหรือรูปเทพ เพราะหากองค์ พระพุทธรูป หรือรูปเทพมีฝุ่นจับเชื่อว่าจะทำให้คนในบ้านเจ็บป่วย นอกจากนั้นควรหมั่นเปลี่ยนน้ำ ดอกไม้ในแจกันบูชาเพื่อให้ชีวิตของคนในบ้านสดชื่น แจ่มใสอยู่ตลอดเวลา 2.เลือกตำแหน่งที่สงบ หิ้งพระควรตั้งอยู่ในพื้นที่ๆ สงบ ไร้เสียงรบกวน จอแจ เช่นบางบ้านประดับหิ้งพระไว้บริเวณประตูเข้า-ออก ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าคนในบ้านจะพบแต่ความวุ่นวาย 3.หิ้งพระไม่ควรติดตั้งผนังเดียวกับห้องน้ำหรือห้องครัว รวมถึงไม่ควรหันหน้าหิ้งบูชาไปตรงกับประตูห้องน้ำหรือห้องครัว เพราะจะทำให้คนในบ้

พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย

พระพุทธรูปแกะสลัก ศิลปะสุโขทัย ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 17 - 20)                ศิลปะสุโขทัยเริ่มตั้งแต่เมื่อแคว้นสุโขทัยรับพระพุทธศาสนาเถรวาทจากลังกา ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ศิลปะสุโขทัยจัดได้ว่าเป็นศิลปะไทยที่งดงามที่สุด และมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง โดยเฉพาะ พระพุทธรูปสุโขทัย ซึ่งมีลักษณะเด่นจนนักวิชาการยกย่องว่าเป็นยุคทองของงานประติมากรรม   ศิลปะพระพุทธรูปสุโขทัยนั้นอาจแบ่งได้เป็น ศิลปะตะกวน ก่อนสุโขทัยมีอิทธิพลของศิลปะขอม ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ ศิลปะสุโขทัยหมวดต่างๆ เช่น หมวดพิษณุโลก หมวดกำแพงเพชร               ศิลปะของพระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างามอย่างถึงที่สุดได้แก่ “ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์” นอกจากได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปจากประเทศลังกาดังกล่าวแล้ว ยังต้องอาศัยฝีมือของนายช่างไทยในสมัยนั้นที่ได้ใช้จินตนาการอันบรรเจิดในการรังสรรค์พระพุทธรูปที่มีพุทธศิลปะเฉพาะ ซึ่งฉีกแนวคิดออกจากอิทธิพลเดิมๆ จนมาเป็นพระพุทธรูปที่งดงามและถือเป็นศิลปะอันบริสุทธิ์             ประกอบด้วยพุทธลักษณะที่สำคัญ คือ พระเกศ ทำเป็นอย่างเปลวเพลิงสูง พระศก ขมวดเ

พระแก้วมรกต

พระแก้วมรกตทรงเครื่องแกะสลัก ประวัติของ พระแก้วมรกต                                                ตามประวัติกล่าวว่า พระแก้วมรกตพระองค์นี้ เทวดาสร้างถวายพระอรหันต์องค์หนึ่ง มีนามว่า พระนาคเสนเถระ แห่งเมืองปาตลีบุตร ในอินเดีย พระนาคเสน ได้อธิษฐานอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า ให้ประดิษฐานอยู่ในองค์พระแก้วมรกต ๗ พระองค์ คือ ในพระโมฬี พระนลาฏ พระอุระ พระอังสาทั้ง ๒ ข้าง พระชานุทั้ง ๒ ข้าง ต่อมาพระแก้วมรกตได้ตกไปอยู่ที่เมืองลังกา เมืองกัมโพชา เมืองศรีอยุธยา เมืองละโว้ เมืองกำแพงเพชร และเมืองเชียงราย ตามลำดับ เจ้าเมืองเชียงรายได้เอาปูนทาแล้วลงรักปิดทอง นำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงราย เพื่อซ่อนเร้นจากศัตรู                    เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๙ เกิดฟ้าผ่าที่องค์เจดีย์ ชาวเมืองได้เห็น พระพุทธรูป ปิดทองปรากฎอยู่ คิดว่าเป็นพระพุทธรูปศิลาทั่วไป จึงได้อัญเชิญไปไว้ในวิหารในวัดแห่งหนึ่ง ต่อมาปูนที่ลงรักปิดทองได้กะเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เห็นเป็นเนื้อแก้วสีเขียว จึงได้แกะปูนออกทั้งองค์ จึงพบว่าเป็นพระพุทธรูปแก้วทึบทั้งองค์ ผู้คนจึงพากันไปนมัสการ พระเจ้าสา

พระคู่บารมีของพระพุทธเจ้า

พระแก้วมรกตแกะสลักพร้อมทรงเครื่อง             บางคนอาจสงสัยว่าทำไม พระแก้วมรกตถึงได้รับยกย่องให้เป็นพระพุทธรูปคู่ประเทศไทย เนื่องจาก ประเทศไทย ส่วนใหญ่ นับถือศาสนา พุทธ และ ในประวัติพระพุทธศาสนานั้นพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีพระแก้วประจำองค์ และมีได้ตั้งแต่ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่และจะปรากฎชัดขึ้นตามความเข้มข้นของบารมีที่สร้าง จึงทำให้ในปัจจุบันเป้นที่นิยมสำหรับชาวพุทธ บูชา พระบูชา พระพุทธรูปแกะสลัก หรือ พระแก้วมรกตแกะสลักจากหยกเขียว บูชาไว้ที่บ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลใ้กับตัวเองและครอบครัว 1. พระกกุสันธพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัย เป็นพระโพธิสัตว์  หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์  เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 40,000 พรรษา พระสรีระสูง 40 ศอก หรือ 20 เมตร  บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 10 เดือน พุทธรังสีสร้านไปไกล 10 โยชน์ (160 กิโลเมตร)   พระแก้วประจำองค์ พระแก้วขาว หน้าตักกว้าง 20 วา 2. พระโกนาคมพุทธเจ้า   หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น

พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน

            พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน สิงห์หนึ่ง                     พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน  สร้างในพุทธศตวรรษที่ 16-20 หรือระหว่างปี พ.ศ. 1600 - 2000 โดยเป็นฝีมือของช่างชาวไทยในมณฑลพายัพ แต่มีพบมากและมีความสวยงาม คือ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย นักโบราณคดีจึงใช้ชื่อเมืองเชียงแสนในการกำหนดพุทธศิลป์ และยกย่องว่าเป็นพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ และเข้าถึงศิลป์เชียงแสนอย่างแท้จริง           พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน แบ่งออกเป็น สิงห์หนึ่ง,สิงห์สอง และสิงห์สาม มีผู้กล่าวถึงที่มาของคำว่า สิงห์ ที่หมายถึงความสง่างามของพุทธลักษณะพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนเป็นฝีมือช่างไทย ซึ่งได้เข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในมณฑลพายัพ นักโบราณคดีได้กำหนด พระพุทธรูป สมัยนี้ แบ่งออกเป็นสองรุ่นคือ รุ่นแรก และ รุ่นหลัง  รุ่นแรกทำตามแบบอย่างพระพุทธรูปอินเดีย สมัยราชวงศ์ปาละอินเดีย พ.ศ. ๑๒๗๓-๑๗๔๐ ลักษณะพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกมีลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปอินเดีย ราชวงศ์ปาละ คือ พระองค์อวบอ้วน พระรัศมีเป็นต่อมกลมนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์มารวิชัย พระอุระนูน ชายสังฆาฎิอยู่เหนือราวพระถันพระพักตร์กลมสั้น พระโขนงโก่ง พระ

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

เคล็ดบูชาพระสังกัจจายน์ให้มีโชคลาภร่ำรวย

        พระสังกัจจายน์พระอสีติมหาสาวก "แห่งโชคลาภ" เป็นพระอรหันต์ 1 ใน 80 พระอสีติมหาสาวกในศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร พระมหากัจจายนมีอีกชื่อหนึ่งว่า กัจจานะ (หรือกัจจายนะ) ในญี่ปุ่นรู้จักทั่วไปในชื่อ "คะเซ็นเน็น" (Kasennen) ส่วนในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ " พระสังกัจจายน์ " หรือ "พระสังกระจาย"         พระสังกัจจายน์ มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่ จัดอยู่ในเอตทัคคะ ลักษณะของพระสังกัจจายน์ โดดเด่นมองเห็นก็รู้ว่า เป็นพุทธสาวกองค์ไหน เมื่อสรุปแล้วจะเห็นว่า พุทธสาวกจำนวน ๘๐ องค์ พระเอตทัคคะ ๔๑ องค์นั้น มีเพียงพระสังกัจจายน์ เท่านั้นที่สร้างอย่างโดดเด่น คติการสร้างพระสังกัจจายน์นิยมการสร้างมาก พระสังกัจจายน์จีน แบบมหายาน หินยาน โดยเฉพาะแบบจีน พระสังกัจจายน์จีนนิยมสร้างมากกว่าในเมือง โดยมีคติความเชื่อที่ว่า "ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรืองดีนักแล"  

พระพุทธรูปปางประธานพร (นั่ง)

พระพุทธรูป ปางประทานพร (ในท่านั่ง)    ป างประทานพร  เป็นพระพุทธรูปลักษณะทำห้อยพระหัตถ์เบื้องขวา หันฝ่าพระหัตถ์ไปข้างหน้าเป็นเครื่องหมาย แต่ส่วนองค์ พระพุทธรูป นั้นทำท่านั่งขัดสมาธิอย่างปางสมาธิ ยืน หรือเดิน เมื่อครั้งพระอานนท์ถูกเลือกให้ทำหน้าที่เป็นพระอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า ท่านได้ขอพร 8 ประการ จากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร 4 ข้อแรก ได้แก่ ไม่ประทานจีวรอันประณีตแก่ท่าน ไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้มาแก่ท่าน ไม่ประทานให้ท่านอยู่คันธกุฏิเดียวกับพระพุทธองค์ ไม่ทรงพาท่านไปในที่นิมนต์ ขอให้พระพุทธองค์ไปในที่นิมนต์ที่ท่านรับไว้ ถ้าท่านนำพุทธบริษัทมาจากแดนไกลขอให้ได้เข้าเฝ้าทันที ถ้าท่านมีความสงสัยขอให้ถามท่านได้ทันที ถ้าพระพุทธองค์ทรงไปแสดงพระธรรมที่ไหน ถ้าท่านไม่ได้ฟัง ขอให้แสดงแก่ท่านอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันคำครหาว่าท่านอุปัฏฐากแล้วไม่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากพระพุทธองค์เลยพระพุทธองค์ได้ประทานพรทั้ง 8 ประการ แก่พระอานนท์

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา                           พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่งเพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่ามีความเป็นมาอย่างไร  จึงเป็นมูลเหตุของการสร้างพระพุทธรูปเพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึงพุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง  ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ ว่าพระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำสิ่งใดในวาระนั้น. ในศิลปะ อินเดียรุ่นแรกๆปรากฏการแสดง “มุทรา”  ของพระพุทธรูปเพียง ๖ ท่าเท่านั้น ได้แก่ มารวิชัยสมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่าการแสดงปางด้วย พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ศิลปะ ทวารวดี           ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง ๔ ปาง ตามสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น ๘ ปาง ตามมหาสถานที่

กรทำบุญ ทำทานเพื่อประโยชน์คนหมู่มาก บุญจะออกดอกออกผลมากตามไปด้วย

                       การทำบุญ ทำทานเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มากนั้น เป็นบุญใหญ่หนุนให้มีทรัพย์เร็วมาก! ขอให้พึงสังเกตอะไรอย่างหนึ่ง คนที่รวย นั้นทำไมมักชอบทำบุญกับพระเถระผู้ใหญ่หรือพระผู้มีวัตรปฏิบัติดี ก็เพราะเขารู้ว่า ท่านเหล่านั้น เป็นผู้ที่มีเนื้อนาบุญสูง เพราะเมื่อท่านเหล่านี้เมื่อรับทานมาแล้ว               ท่านจะรีบเอาปัจจัยเหล่านั้นไปสร้างบุญต่อ ทั้งสร้างโรงพยาบาล สร้างวัด โรงเรียน หรือสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์ สงเคราะห์คนหมู่มาก บุญนั้นก็ออกดอก ออกผลมากขึ้นและผู้ที่ทำทานก็จะได้บุญมากขึ้นๆ เพราะทุกคนที่มากราบไหว้มาแสวงบุญ หรือใช้บริการนั้น เขาจะรู้สึกขอบคุณ มีการโมทนาบุญนั้นตลอดเวลา จากหนึ่งเป็นสิบ จากสิบเป็นร้อย จากร้อยเป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านไม่รู้จบ ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า “บุญงอก” ออกมา           สำหรับท่านที่ชอบสร้างบุญสร้าง พระองค์ใหญ่ สิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ด้วยวัตถุที่คงทน ก็ขออนุโมทนาบุญด้วย เพราะเป็นบุญใหญ่มาก เพราะเป็นเหตุให้คนมาสร้างบุญและทุกครั้งที่คนเหล่านั้นมากราบไหว้ มาชำระจิตใจ หรือเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ท่านที่สร้างบุญนี้จะได้”บุญเพิ่ม

พระพุทธรูปปางสมาธิ

                         พระพุุทธรูปปางสมาธิ หรือปางตรัสรู้ พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) สมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย ความเป็นมาของปางสมาธิหรือปางตรัสรู้      หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์มีชัยชนะเหนือพญามารแล้ว ทรงบำเพ็ญสมาธิต่อไป เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากอุปกิเลสแล้ว ในปฐมยามทรงบรรลุจตูปปาตญาณ คือสามารถหยั่งรู้การเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ว่า สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วตายไป ประสบสุขและทุกข์ตามกรรมที่ทำไว้ และในปัจฉิมยามพระองค์ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ทรงทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้ดับสิ้นไป จนได้บรรลุอนุตสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลารุ่งอรุโณทัย ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา) สถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันอยู่ในตำบลพุทธคยา ประเทศอินเดีย สาเหตุของการสร้างพระพุทธรูปว่าสร้างขึ้นมาทำไม       เรื่องเดิมมีอยู่ว่าเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ หลังจากได้รับพยากรณ์จากพ

พระพุทธเจ้า 5 พระองค์

พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ตามแนวคิดพุทธศาสนามหายาน                พุทธศาสนานิกายมหายาน  มีแนวความคิดเรื่องพุทธภาวะหลังปรินิพพานว่า พระพุทธเจ้าเมื่อได้แสดงตนว่าปรินิพพานแล้วนั้น ที่จริงหาได้เป็นการสิ้นสุดของพุทธภาวะไม่ การปรินิพพานเป็นเพียงอุบายแห่งการสั่งสอนสรรพสัตว์เท่านั้น พระองค์ยังคงมีพุทธภาวะอยู่โดยสมบูรณ์ในรูปของสัมโภคกาย สามารถที่จะรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้ และจะดำรงอยู่เช่นนี้ตลอดชั่วกาลนาน จนกว่าจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้หมด พระองค์จึงจะเสด็จเข้าสู่พระนิพพาน โดยแบ่งออกเป็น 3 พระองค์หลักๆ คือ       1. พระอาทิพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นมาพร้อมกับโลกองค์แรกและประจำอยู่ชั่วนิรันดร เป็นพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นมาเองก่อนสิ่งใดทั้งหมด ซึ่งไม่สามารถระบุเบื้องต้นและเบื้องปลายได้ เป็นผู้ให้กำเนิดพระมานุษิพุทธเจ้าและธยานิพุทธเจ้า รวมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย และให้กำเนิดสรรพสิ่งต่างๆ ทั้งมวลที่มีอยู่ในสกลจักรวาลนี้ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล ล้วนถือกำเนิดมาจากองค์พระอาทิพุทธเจ้าทั้งสิ้น           พระอรรถกถาจารย์ได้สร้างพระอาทิพุทธเจ้าขึ้

ประวัติเจ้าแม่กวนอิม

ประวัติเจ้าแม่กวนอิม หรือพระโพธิสัตว์กวนอิม (ตำนานจีน)                     เจ้าแม่กวนอิม เป็นพระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการ ผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้งเนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่นย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ ตามตำนานจีน           พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) ชาติสุดท้ายเป็น ราชธิดานาม เมี่ยวซ่าน เดิมเป็นเทพธิดา มาจุติยังโลกมนุษย์เพื่อมาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เป็นราชธิดาองค์สุดท้ายของกษัตริย์ เมี่ย

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี

อานิสงฆ์การสร้างพระประธาน

สาเหตุของการสร้างพระพุทธรูปว่าสร้างขึ้นมาทำไม      เรื่องเดิมมีอยู่ว่าเป็นธรรมดาของ พระโพธิสัตว์  ก่อนจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ หลังจากได้รับพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน แล้วจะต้องบำเพ็ญ บารมี ต่ออีกอย่างน้อย 4 อสงไขยกับแสนมหากัป ซึ่งนับว่านานไม่ใช่เล่นเลยทีเดียว      เพราะเหตุนี้นานๆ จึงจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นสักพระองค์หนึ่ง เมื่อพระองค์ใดบังเกิดขึ้นแล้วก็จะทรงรีบประกาศ ธรรมะ ให้ชาวโลกรู้ ชาวโลกที่รู้แล้วก็ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ประพฤติปฏิบัติตัวเป็นอย่างดี จนกระทั่งหมดกิเลสเข้านิพพานตามพระองค์ไป เพราะฉะนั้น ใครที่เกิดทันเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ชื่อว่ามีโชคดีอย่างยิ่ง     คราวนี้สำหรับผู้ที่มาเกิดไม่ทันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้พบแต่คำสอนของพระองค์ นึกหน้าเจ้าของคำสอนไม่ออกจะทำอย่างไรดี ?      ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ ปฏิบัติธรรม จนเข้าถึงพระ ธรรมกาย แล้ว ท่านมองการณ์ไกล รู้ว่าในภายหน้าจะเกิดมี ปัญหา เรื่องนี้แน่นอน จึงปั้นองค์พระตามลักษณะที่ท่านเห็นในกายภายในออกมา พระพุทธรูปที่ท่านแกะสลักจำลองออกมาจากภายในจึงสวยงามมาก เพื่อให้คนรุ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ