ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

12 ขั้นตอนการรู้ตามซึ่งสัจจธรรม

12 ขั้นตอน การรู้ตามซึ่งสัจจธรรม ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด ทางมีองค์แปด เป็นทางอันประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย. บทแห่งอริยสัจสี่ ประเสริฐกว่าบททั้งหลาย. วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย. ผู้มีพุทธจักษุ ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย. นี่แหละทางเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ ทาง อื่นมิได้มี. เธอทั้งหลาย จงเดินตามทางนั้น อันเป็นที่หลงแห่งมาร ; เธอทั้งหลาย เดิน ตามทางนั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ทางเราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย เพื่อการรู้จักการถอนซึ่งลูกศร; ความเพียรเป็น กิจอันเธอทั้งหลายพึงกระทำ ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอก(วิธีแห่งการกระทำ). ผู้ มุ่งปฏิบัติแล้วย่อมพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร. เมื่อใด บุคคลเหห็นด้วยปัญญาว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง"; เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ : นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด. เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์": เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ : นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด. เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา"; เม