ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน

           

พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน สิงห์หนึ่ง

          
         พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน สร้างในพุทธศตวรรษที่ 16-20 หรือระหว่างปี พ.ศ. 1600 - 2000 โดยเป็นฝีมือของช่างชาวไทยในมณฑลพายัพ แต่มีพบมากและมีความสวยงาม คือ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย นักโบราณคดีจึงใช้ชื่อเมืองเชียงแสนในการกำหนดพุทธศิลป์ และยกย่องว่าเป็นพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ และเข้าถึงศิลป์เชียงแสนอย่างแท้จริง

          พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน แบ่งออกเป็น สิงห์หนึ่ง,สิงห์สอง และสิงห์สาม มีผู้กล่าวถึงที่มาของคำว่า สิงห์ ที่หมายถึงความสง่างามของพุทธลักษณะพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนเป็นฝีมือช่างไทย ซึ่งได้เข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในมณฑลพายัพ นักโบราณคดีได้กำหนดพระพุทธรูปสมัยนี้ แบ่งออกเป็นสองรุ่นคือ รุ่นแรก และ รุ่นหลัง รุ่นแรกทำตามแบบอย่างพระพุทธรูปอินเดีย สมัยราชวงศ์ปาละอินเดีย พ.ศ. ๑๒๗๓-๑๗๔๐ ลักษณะพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกมีลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปอินเดีย ราชวงศ์ปาละ คือ พระองค์อวบอ้วน พระรัศมีเป็นต่อมกลมนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์มารวิชัย พระอุระนูน ชายสังฆาฎิอยู่เหนือราวพระถันพระพักตร์กลมสั้น พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม  เส้นพระศกใหญ่เป็นต่อมกลมหรือเป็นเส้นหอยไม่มีไรพระศก ฐานบัวมีรอง ทั้งบัวคว่ำบัวหงายฐานเขียงไม่มีบัวฐานเขียงบัวมีกลีบแซมและมีเกสร


         พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นหลัง เป็นฝีมือช่างไทยชาวลานนาและลานช้างทำตามแบบอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีลักษณะต่างไปจากสมัยเชียงแสนรุ่นแรกคือ ทำพระรัศมีเป็นเปลว นั่งขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฎิยาว เส้นพระศกละเอียด มีไรพระศก รัศมีเป็นเปลว กล่าวโดยสรุป พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนปัจจุบันนิยมแบ่งออกเป็น สิงห์หนึ่ง , สิงห์สอง และสิงห์สาม


- พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน สิงห์หนึ่ง ลักษณะองค์พระจะอวบอ้วน พระรัศมี หรือพระเกตุมาลาเป็นต่อมกลม(รูปดอกบัวตูม) ไม่ปรากฏไรพระศก ส่วนเม็ดพระศกเป็นต่อมกลมหรือก้นหอยวงพระพักตร์ค่อนข้างกลมสั้น พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม จีวรแนบเนื้อ พระอุระผึ่งผาย พระถันเป็นเต้างามดังดอกบัวพระสังฆาฎิเป็นแฉกคล้ายหางนกแซงแซวหรือคล้ายเงี้ยวตะขาบ มีชายเดียวหรือซ้อนกันหลายชั้นชายผ้าสังฆาฎิเหนือพระถัน

- พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน สิงห์สอง ผู้รู้กำหนดว่าชายผ้าสังฆาฎิจะเลยพระถันลงมาเล็กน้อย และพุทธลักษณะอื่นๆคล้ายกัน แตกต่างกันที่สังฆาฎิ

- พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน สิงห์สาม ลักษณะองค์พระคล้ายพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยพระเกตุมาลาเป็นรัศมีเปลว บางองค์มีเส้นไรพระศกทำเป็นเม็ดกลมหรือขมวดก้นหอย พระพักตร์รูปวงรีคล้ายผลมะตูม พระนาลาฎเรียบเต็ม พระโขนงโก่งพองาม ปลายพระโขนงตกหางพระเนตร ชายผ้าสังฆฎิจรดที่พระอุทร


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี