ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระคู่บารมีของพระพุทธเจ้า




พระแก้วมรกตแกะสลักพร้อมทรงเครื่อง


            บางคนอาจสงสัยว่าทำไม พระแก้วมรกตถึงได้รับยกย่องให้เป็นพระพุทธรูปคู่ประเทศไทย เนื่องจาก ประเทศไทย ส่วนใหญ่ นับถือศาสนา พุทธ และ ในประวัติพระพุทธศาสนานั้นพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีพระแก้วประจำองค์ และมีได้ตั้งแต่ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่และจะปรากฎชัดขึ้นตามความเข้มข้นของบารมีที่สร้าง จึงทำให้ในปัจจุบันเป้นที่นิยมสำหรับชาวพุทธ บูชาพระบูชา พระพุทธรูปแกะสลัก หรือพระแก้วมรกตแกะสลักจากหยกเขียว บูชาไว้ที่บ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลใ้กับตัวเองและครอบครัว

1. พระกกุสันธพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัย เป็นพระโพธิสัตว์ หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์ 

เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 40,000 พรรษา พระสรีระสูง 40 ศอก หรือ 20 เมตร บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 10 เดือน พุทธรังสีสร้านไปไกล 10 โยชน์ (160 กิโลเมตร)  พระแก้วประจำองค์ พระแก้วขาว หน้าตักกว้าง 20 วา

2. พระโกนาคมพุทธเจ้า  หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป  ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์ 
เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 30,000 พรรษา พระสรีระสูง 30 ศอก หรือ 15 เมตร   บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 1 เดือน พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์ พระแก้วประจำองค์ พระแก้วเหลือง หน้าตักกว้าง 15 วา

3. พระกัสสปพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป  ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์ 
เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 20,000 พรรษา พระสรีระสูง 20 ศอก หรือ 10 เมตร  บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์  พระแก้วประจำองค์ พระแก้วน้ำเงิน หน้าตักกว้าง 10 วา

4. พระศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 4 องไขยแสนกัป  ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีก 24 พระองค์ ซึ่งน้อยมาก 
เป็นปัญญาพุทธเจ้า อายุไขย 80 พรรษา พระสรีระสูง 4 ศอก หรือ 2 เมตร  บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 6 ปี พุทธรังสีสร้านไปข้างละ 1 วา เป็นปกติ  พระแก้วประจำองค์ พระแก้วเขียว(เขียวมรกต) หน้าตักกว้าง 5 วา

5. พระอริยเมตตรัยพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 16 อสงไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 477,029 พระองค์ 
เป็นวิริยะพุทธเจ้า อายุไขย 80,000 พรรษา พระสรีระสูง 80 ศอก หรือ 40 เมตร  บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน พุทธรังสีสร้านไปไกล ยังกำหนดไม่ได้  พระแก้วประจำองค์ พระแก้วแดง และทรงเครื่องบรมหาจักรพรรดิ หน้าตักกว้าง 20 วา

           พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีพระแก้วประจำองค์และมีได้ตั้งแต่ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่และจะปรากฎชัดขึ้น  ตามความเข้มข้นของบารมีที่สร้างยุคพระศรีก็จะมีพระแก้วแดงทำจากทับทิมแดง ปัจจุบันนี้ประดิษฐานเตรียมไว้แล้ว ณ ภูมิทิพย์ ซึ่งซ้อนอยู่กับ สถานที่แห่งหนึงและพระแก้วแดงจะปรากฎออกมา เมื่อถึงยุคพระศรีพระแก้วคู่บารมีของพระพุทธเจ้า องค์ปัจจุบันก็คือพระแก้วมรกต ส่วนพระแก้วคู่บารมีของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เป็นพุทธนิมิตอยู่ที่พระนิพพานคู่วิมานพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี