ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระพุทธรูปปางต่างๆ



พระพุทธรูปปางต่างๆ

           พระพุทธรูปสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของการสร้างพระพุทธรูป เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร 

            ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย 

           ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อัฏฐมหาสถาน ปางที่เพิ่มขึ้น 4 ปาง ได้แก่ ปางทรมานช้างนาฬาคีรี ปางทรงรับบาตรจากพญาวานร ปางยมกปาฏิหาริย์ และปางเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 

           ในดินแดนไทยสมัยทวารวดีระยะแรก ได้พบหลักฐานพระพุทธรูปเพียงไม่กี่ปาง ซึ่งเป็นศิลปะที่สืบต่อมาจากอินเดียโดยตรง ได้แก่ ปางประทานพร ปางทรงแสดงธรรม ปางมารวิชัย และปางสมาธิ ในระยะต่อมาจึงมีการสร้างพระพุทธรูปปางอื่นๆ ทั้งที่เป็นการดัดแปลงให้เป็นแบบท้องถิ่น และที่คิดริเริ่มขึ้นใหม่ เช่น พระพุทธรูปปางทรงแสดงธรรม ทั้ง 2 พระหัตถ์ในศิลปะทวารวดีนั้น ก็ไม่มีปรากฏในอินเดีย พระพุทธรูปลอยตัวปางลีลาถือว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในศิลปะสุโขทัย และพระพุทธรูปแสดงปางประทานอภัย ทั้ง 2 พระหัตถ์ที่เรียกว่า ปางห้ามสมุทร อาจเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา 
          
            อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยา การสร้างพระพุทธรูปแสดงปางต่างๆยังมีปางอยู่ไม่มากนัก ที่นิยมมาก ที่สุดคือ ปางมารวิชัย รองลงมาได้แก่ ปาง สมาธิ และปางอื่นๆ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงรวบรวม และเรียบเรียงตำราทางพระพุทธศาสนาขึ้นคือ พระนิพนธ์พุทธประวัติ เรื่อง “ปฐมสมโพธิกถา” แล้วทรงประดิษฐ์แบบอย่างพระพุทธรูปปางต่างๆ ขึ้นตามพุทธประวัติดังกล่าว เพื่อให้ช่างสร้างเป็นพระพุทธรูปรวม 40 ปาง ซึ่งถือเป็นการกำหนดปางต่างๆ ของพระพุทธรูปมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา หลังจากนั้นมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการกำหนดปางพระพุทธรูปเพิ่มเติมขึ้น หลายตำรา เช่น “พระพุทธรูปปางต่างๆ”  ของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ มีจำนวน 55 ปาง ใน “ภาพพุทธประวัติวัดทองนพคุณ” เป็นประติมากรรมนูนสูงสร้างด้วยทองเหลืองทาสี ปิดทอง มีจำนวน 90 ปาง ใน “ประวัติพระพุทธรูปปางต่างๆ” ของกรมการศาสนา แต่งโดยพิทูร มลิวัลย์ มีจำนวน 72 ปาง และ ใน “ตำนานพระพุทธรูปปางต่างๆ” แต่งโดย พระพิมลธรรม มีจำนวน 66 ปาง จากตำรา เล่มหลังนี้ ได้ปรากฏงานสร้างพระพุทธรูป รวม 66 ปาง ที่พระระเบียงรอบองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม 

         

          พระพุทธรูป 40 ปาง ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงกำหนดไว้ และถือเป็นต้นแบบให้มีการสร้างเพิ่มเติมต่อๆ มา ประกอบด้วยปางต่างๆ ดังนี้ คือ 
  1. ปางทุกกรกิริยา                                            11. ปางลีลา
  2.  ปางรับมธุปายาส                                         12. ปางประทานเอหิภิกษุอุปสมบท 
  3. ปางลอยถาด                                                13. ปางปลงกรรมฐาน
  4. ปางทรงรับหญ้าคา                                       14. ปางห้ามสมุทร 
  5. ปางมารวิชัย                                                 15. ปางอุ้มบาตร 
  6. ปางสมาธิ                                                     16. ปางภุตตกิจ 
  7. ปางถวายเนตร                                             17. ปางพระเกตุธาตุ
  8. ปางจงกรมแก้ว                                            18. ปางเสด็จลงเรือขนาน 
  9. ปางประสานบาตร                                        19. ปางห้ามญาติ 
  10. ปางฉันสมอ                                                 20. ปางพระป่าเลไลยก์ 



21. ปางห้ามพระแก่นจันทน์                                     31. ปางประดิษฐานพระพุทธบาท

22. ปางนาคาวโลก                                                  32. ปางสำแดงโอฬาริกนิมิต 
23. ปางปลงพระชนม์                                               33. ปางรับผลมะม่วง
24. ปางรับอุทกัง                                                      34. ปางขับพระวักกลิ
25. ปางพระสรงน้ำ                                                   35. ปางไสยา  
26. ปางยืน                                                               36. ปางฉันมธุปายาส 
27. ปางคันธารราฐ                                                   37. ปางห้ามมาร
28. ปางพระรำพึง                                                     38. ปางสนเข็ม 
29. ปางสมาธิเพชร                                                  39. ปางทรงตั้งพระอัครสาวก 
30. ปางแสดงชราธรรม                                            40. ปางเปิดโลก 





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี