ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อานิสงฆ์การสร้างพระประธาน




สาเหตุของการสร้างพระพุทธรูปว่าสร้างขึ้นมาทำไม


     เรื่องเดิมมีอยู่ว่าเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ หลังจากได้รับพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน แล้วจะต้องบำเพ็ญบารมีต่ออีกอย่างน้อย 4 อสงไขยกับแสนมหากัป ซึ่งนับว่านานไม่ใช่เล่นเลยทีเดียว

     เพราะเหตุนี้นานๆ จึงจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นสักพระองค์หนึ่ง เมื่อพระองค์ใดบังเกิดขึ้นแล้วก็จะทรงรีบประกาศธรรมะให้ชาวโลกรู้ ชาวโลกที่รู้แล้วก็ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ประพฤติปฏิบัติตัวเป็นอย่างดี จนกระทั่งหมดกิเลสเข้านิพพานตามพระองค์ไป เพราะฉะนั้น ใครที่เกิดทันเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ชื่อว่ามีโชคดีอย่างยิ่ง

    คราวนี้สำหรับผู้ที่มาเกิดไม่ทันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้พบแต่คำสอนของพระองค์ นึกหน้าเจ้าของคำสอนไม่ออกจะทำอย่างไรดี ?

     ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว ท่านมองการณ์ไกล รู้ว่าในภายหน้าจะเกิดมีปัญหาเรื่องนี้แน่นอน จึงปั้นองค์พระตามลักษณะที่ท่านเห็นในกายภายในออกมา พระพุทธรูปที่ท่านแกะสลักจำลองออกมาจากภายในจึงสวยงามมาก เพื่อให้คนรุ่นหลังอย่างเรากราบไหว้กัน

     ในสมัยแรกๆ ธรรมะในตัวของท่านเหล่านั้นหนักแน่น มั่นคง แจ่มชัด เพราะฉะนั้นใครก็ตาม อย่าว่าแต่ได้ยินคำสอนเลย เพียงแค่เห็นพระพุทธรูปที่ท่านแกะสลักหรือปั้นขึ้นมา ใจก็ชุ่มชื่นเบิกบานเสียแล้ว เพราะว่าได้พบพุทธลักษณะ ซึ่งเป็นลักษณะที่สง่างาม ใครๆ เห็นแล้วก็อยากประพฤติปฏิบัติตนให้หมดกิเลสตาม ยิ่งเมื่อได้ศึกษาถึงธรรมะที่พระองค์ได้ทรงประกาศไว้ ก็ยิ่งมีกำลังใจที่จะทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

      ดังนั้น การที่ใครก็ตามสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา ก็ได้ชื่อว่าได้ยกใจของประชาชนหรือชาวโลกให้สูงขึ้น ให้พ้นจากกิเลสตัณหาให้มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดที่ดีที่จะทำให้โลกนี้สงบร่มเย็นต่อไป

อานิสงส์ของการสร้างพระพุทธรูป

        1. ตัวของผู้สร้างพระพุทธรูป มีจิตใจสูงส่งตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไป คือมีความใฝ่ดีเป็นพื้นฐานของใจ ตั้งแต่ชาตินี้เลย

        2. เนื่องจากเป็นผู้ยกใจชาวโลกให้สูงขึ้น บุญนี้จึงส่งผลให้ต่อไปว่า จะเป็นที่เคารพกราบไหว้ในทุกถิ่นฐาน และไม่ใช่เฉพาะมนุษย์มากราบไหว้เท่านั้น แม้แต่เทวดาก็มาไหว้ด้วย

        3. ไม่ว่าผู้สร้างพระพุทธรูปนั้นจะละโลกไปแล้ว นานเท่าไหร่ก็ตาม ตราบใดที่ยังมีผู้มากราบไหว้พระพุทธรูปที่เขาสร้างไว้ ตราบนั้นบุญที่สร้างพระก็ยังส่งผลให้เขาเป็นที่เคารพบูชาของบุคคลทั้งหลายในภพภูมิที่เขาไปเกิดต่อไป

        4. จะเกิดอีกกี่ภพกี่ชาติ นอกจากจะเป็นที่กราบไหว้เป็นที่เคารพ เทิดทูนของมนุษย์และเทวดาแล้ว หากว่าใจของเขาเกิดแวบไปคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เป็นอกุศลจิตเพียงชั่ววูบ หรือมีเรื่องกระทบกระทั่งอะไรก็ตามที่ทำให้ใจขุ่นมัว เพียงระลึกถึงพระพุทธรูปที่ตนสร้างไว้ อกุศลจิตทั้งหลาย บาปทั้งหลาย ก็จะหลุดล่อนออกจากใจของเขาได้โดยง่ายดาย

        5. จะเกิดอีกกี่ภพกี่ชาติ เรื่องจะห่างจากพระพุทธศาสนาเป็นไม่มี มีแต่จะได้โอกาสใกล้ชิดพระศาสนาตลอดไป ไม่ว่าพระพุทธศาสนาจะไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ที่ไหน เขาก็จะไปเกิดอยู่ที่นั่นแหละ เมื่อถึงคราวปฏิบัติธรรม เขาจะเข้าถึงพระธรรมกายได้โดยง่ายดาย

        6. ขณะที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร ทรัพย์สมบัติจะเกิดแก่เขาโดยง่าย โดยไม่ต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบากชนิดหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน เขาจะทำมาค้าขายก็ทำมาค้าขึ้น จะรับราชการงานเมืองก็เจริญรุ่งเรืองโดยรวดเร็ว เจริญทั้งทางโลก เจริญทั้งทางธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย

        นี้เป็นเพียงอานิสงส์โดยย่อ คัดเลือกมาเฉพาะข้อที่สำคัญๆ ที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ง่ายๆ ถ้าได้นั่งสมาธิ คำนวณดูบุญแล้วล่ะก็ จะเห็นว่ายังมีอีกมากมายนัก เพราะฉะนั้นเรื่องการสร้างพระพุทธรูปนี้ ขอให้ทำกันเถอะ ให้เป็นบุญล้วนๆ เลยนะ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี