ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การจัดหิ้งพระในบ้านอย่างไรให้เป็นสิริมงคลกับเจ้าของ




           บ้านแต่ละหลังย่อมมีหิ้งพระ หรือมากกว่านั้นอาจจะมีหิ้งเทพ หิ้งรูปบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แต่ก็ยังพบปัญหาว่าหลายคนไม่ทราบว่าควรจัดวาง ตั้งหิ้งพระไว้บริเวณใดของบ้านถึงเหมาะสมและเป็นมงคลกับชีวิต รวมถึงอาจเผลอวางหิ้งพระผิดที่ผิดทางจนเกิดความไม่เป็นมงคลได้ Lanna Sculpture เลยรวบรวมคำแนะนำเรื่องการจัดหิ้งพระให้เหมาะสมและเป็นมงคลต่อเจ้าของบ้าน

1.หมั่นดูแลหิ้งพระให้สะอาดอยู่เสมอ หลายจุดในบ้านเจ้าของบ้านให้ความสำคัญแต่บางครั้งหลงลืมตำแหน่งของหิ้งพระ ดังนั้นต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาดองค์พระหรือรูปเทพ เพราะหากองค์พระพุทธรูปหรือรูปเทพมีฝุ่นจับเชื่อว่าจะทำให้คนในบ้านเจ็บป่วย นอกจากนั้นควรหมั่นเปลี่ยนน้ำ ดอกไม้ในแจกันบูชาเพื่อให้ชีวิตของคนในบ้านสดชื่น แจ่มใสอยู่ตลอดเวลา

2.เลือกตำแหน่งที่สงบ หิ้งพระควรตั้งอยู่ในพื้นที่ๆ สงบ ไร้เสียงรบกวน จอแจ เช่นบางบ้านประดับหิ้งพระไว้บริเวณประตูเข้า-ออก ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าคนในบ้านจะพบแต่ความวุ่นวาย

3.หิ้งพระไม่ควรติดตั้งผนังเดียวกับห้องน้ำหรือห้องครัว รวมถึงไม่ควรหันหน้าหิ้งบูชาไปตรงกับประตูห้องน้ำหรือห้องครัว เพราะจะทำให้คนในบ้านเจ็บป่วย มีเรื่องขัดแย้งหรือเงินทองรั่วไหล

4.หิ้งพระบนหลังตู้ควรสูงกว่าศีรษะ หากคุณพักอาศัยในคอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์หิ้งพระควรอยู่สูงกว่าศีรษะเพราะมันเกี่ยวพันกับความเจริญก้าวหน้า อาชีพการงาน

5.ห้องพระคือห้องพระ ห้องพระก็คือห้องสำหรับตั้งบูชาพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพียงอย่างเดียว เราอย่าใช้ห้องพระไว้เก็บข้าวของชนิดอื่นๆ รวมทั้งห้องพระไม่ควรอยู่ติดกับห้องน้ำหรือมีประตูตรงกับห้องน้ำ

6.หิ้งพระไม่ควรตั้งอยู่ปลายเตียง หากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรตั้งหิ้งบูชาไว้ในห้องนอน เนื่องจากเราอาจมีกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อหน้าหิ้งพระเช่นการเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือการร่วมหลับนอนของคู่สามี-ภรรยา อีกทั้งยังไม่ควรหันหน้าหิ้งพระไปยังทิศที่เตียงตั้งอยู่ด้วย

7.ห้องรับแขกไม่ใช่ที่ตั้งของหิ้งบูชา อย่างที่บอกว่าหิ้งพระควรตั้งอยู่ในห้องที่ค่อนข้างมีบรรยากาศสงบ

8.บนหิ้งพระควรมีองค์พระหรือองค์เทพเป็นจำนวนเลขคี่

9.หลีกเลี่ยงการตั้งหิ้งบูชาไว้ใต้คาน เพราะหมายถึงดวงชะตาของเจ้าของบ้านอาจถูกกดทับ และมักมีเรื่องให้ปวดหัวอยู่เสมอ

10.หิ้งพระควรตั้งอยู่ในมุมที่เป็นสัดส่วน ไม่ใช่เมื่ออยู่นอกบ้านแล้วสามารถมองเห็นหิ้งพระในบ้านอย่างชัดเจน เช่นนั้นถือว่าไม่ดี

          นอกจากนี้ยังมีทิศต้องห้ามไม่ให้เจ้าของบ้านตั้งหิ้งพระอีกด้วย มาดูกันว่าคุณเกิดปีไหนและห้ามไม่ให้ตั้งหิ้งพระตรงไหน


  • เจ้าของบ้านเกิดปีชวด ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศเหนือ เพราะจะส่งผลให้เจ้าบ้านเกิดอันตราย จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต
  • เจ้าของบ้านเกิดปีฉลู ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จะส่งผลให้เจ้าบ้าน เกิดการเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน
  • เจ้าของบ้านเกิดปีขาล ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จะส่งผลให้ผู้หญิงและสมาชิกในครอบครัวเกิดอันตราย
  • เจ้าของบ้านเกิดปีเถาะ ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาไปทางทิศตะวันออก จะส่งผลให้เกิดความสูญเสียคนในบ้านจะเสียชีวิต
  • เจ้าของบ้านเกิดปีมะโรง ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จะส่งผลให้คนในบ้านเกิดการเสียหายทั้งชายและหญิง
  • เจ้าของบ้านเกิดปีมะเส็ง ห้ามตั้งหิ้งพระบูชา หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพราะจะส่งผลให้คนในครอบครัวมีความยุ่งยากที่สุดจนหาความสงบสุขไม่ได้
  • เจ้าของบ้านเกิดปีมะเมีย ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศใต้ จะส่งผลให้เกิดเรื่องราวอัปมงคลขึ้นภายในบ้าน
  • เจ้าของบ้านเกิดปีมะแม ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพราะจะส่งผลให้ครอบครัว เกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นอย่างไม่คาดฝัน
  • เจ้าของบ้านเกิดปีวอก ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพราะจะส่งผลให้เกิดเรื่องร้าย ๆ กับสมาชิกเพศชายในครอบครัว
  • เจ้าของบ้านเกิดปีระกา ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเพราะ จะทำให้ความทุกข์โศกมาเยือนครอบครัวจนต้องร้องให้อยู่เสมอ
  • เจ้าของบ้านเกิดปีจอ ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เพราะจะส่งผลร้ายให้สมาชิกในครอบครัวอย่างมาก ถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • เจ้าของบ้านเกิดปีกุน ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพราะจะส่งผลให้เกิดเรื่องร้าย ๆ ในครอบครัวอยู่ตลอด เสียเงินเสียทองขึ้นโรงขึ้นศาล


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี