ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เคล็ดบูชาพระสังกัจจายน์ให้มีโชคลาภร่ำรวย

        พระสังกัจจายน์พระอสีติมหาสาวก "แห่งโชคลาภ" เป็นพระอรหันต์ 1 ใน 80 พระอสีติมหาสาวกในศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร พระมหากัจจายนมีอีกชื่อหนึ่งว่า กัจจานะ (หรือกัจจายนะ) ในญี่ปุ่นรู้จักทั่วไปในชื่อ "คะเซ็นเน็น" (Kasennen) ส่วนในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระสังกัจจายน์" หรือ "พระสังกระจาย"

        พระสังกัจจายน์ มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่ จัดอยู่ในเอตทัคคะ ลักษณะของพระสังกัจจายน์ โดดเด่นมองเห็นก็รู้ว่า เป็นพุทธสาวกองค์ไหน เมื่อสรุปแล้วจะเห็นว่า พุทธสาวกจำนวน ๘๐ องค์ พระเอตทัคคะ ๔๑ องค์นั้น มีเพียงพระสังกัจจายน์ เท่านั้นที่สร้างอย่างโดดเด่น คติการสร้างพระสังกัจจายน์นิยมการสร้างมาก พระสังกัจจายน์จีน แบบมหายาน หินยาน โดยเฉพาะแบบจีน พระสังกัจจายน์จีนนิยมสร้างมากกว่าในเมือง โดยมีคติความเชื่อที่ว่า "ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรืองดีนักแล"
              


เคล็ดการบูชา

         ในการบูชาพระสังกัจจายน์นั้นบูชาด้วยธูป 3 ดอก พร้อมดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอมต่างๆ หรือดอกบัว๗ดอก มิว่าจะบูชาด้วยดอกใดให้ใช้ 7 ดอก และควรบูชาสองเวลาคือเช้าก่อนไปทำงานและเย็นก่อนนอน เพื่อขอให้ท่านประสาทพรโชคลาภพูนทวี และมีเคล็ดอย่างนึงว่าพระสังกัจจายน์นั้นหากบูชาไว้ในบ้านให้ปิดทองที่พุงของท่านเชื่อว่าจะมีลาภไหลมาไม่ขาดสายครับ ในตอนเช้าให้กล่าวคำบูชาท่านดังนี้ค่ะ


คาถาบูชาพระสังกัจจายน์แกะสลัก 

      กัจจานะ จะ มหาเถโร พุธโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะ สุภา สิตัง พุทธะตัง สะมะนุปปัตโต พุทธะ โชตัง นะ มามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะ มุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะ มามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมามะฯ

      และขอให้พรว่าจะไปทำงานให้อะไรก็ว่าไปตามใจปรารถนา และเมื่อกลับบ้านก่อนอนให้สวดบูชาท่านด้วยบทนี้ครับ

คาถาบูชาขอลาภ (สวดบทนี้ได้ทุกวันก่อนนอนเพื่อสิริมงคล) 

      กัจจายะนะ มะหาเถโร เทวะตานะระ ปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง ภะวันตุ เม ลาเภนะ อุตะโมโหติ โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง สัพพะลาภา สะทาโสตถิ ภะวันตุ เม 

       และขอท่านว่าเราประสงค์สิ่งใด ในส่วนการไปไหว้พระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ที่วัด นั้นควรมี ดอกบัว๑ดอก ธูป๓ดอก และทองคำเปลวสามแผ่น แผ่นที่๑ปิดที่หน้าผากขอพรให้มีปัญญาเฉียบแหลมแบบท่าน แผ่นที่๒ปิดที่ปากท่านเพื่อขอให้เกิดเมตตามหานิยม แผ่นที่๓ปิดที่พุงเพื่อขอลาภไหลมาพูนทวีแล้วกล่าวคาถา

ชาวพุทธกราบไหว้สักการบูชาพระสังกัจจายน์เพื่อให้บังเกิดความเป็นสิริมงคล 3 ประการแก่ตนเองและครอบครัว ดังนี้ 

1. โชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ พระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องให้เป็นพระผู้อุดมด้วยโภคทรัพย์ และลาภสักการะเสมอด้วยพระสิวลี รูปลักษร์ท่านแสดงถึงความมีลาภพูนทวี

2. สติปัญญา เนื่องเพราะพระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศในทางอธิบายความพุทธภาษิต ท่านเป็นอรหันต์ผู้มีปฎิภาณเฉียบแหลม 

3. ความงามและความมีเสน่ห์เป็นเมตตามหานิยม เนื่องจากเพราะก่อนที่ท่านจะอธิษฐานจิตให้รูปร่างเปลี่ยนแปลง พระสังกัจจายน์มีผิวดั่งทองคำและมีรูปงามละม้ายเหมือนพระพุทธเจ้า จนแม้แต่เทพยดา พรหม มนุษย์ทั้งปวงพากันรักใคร่ชื่นชม 














ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี