ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2016

พระแก้วมรกต

พระแก้วมรกตทรงเครื่องแกะสลัก ประวัติของ พระแก้วมรกต                                                ตามประวัติกล่าวว่า พระแก้วมรกตพระองค์นี้ เทวดาสร้างถวายพระอรหันต์องค์หนึ่ง มีนามว่า พระนาคเสนเถระ แห่งเมืองปาตลีบุตร ในอินเดีย พระนาคเสน ได้อธิษฐานอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า ให้ประดิษฐานอยู่ในองค์พระแก้วมรกต ๗ พระองค์ คือ ในพระโมฬี พระนลาฏ พระอุระ พระอังสาทั้ง ๒ ข้าง พระชานุทั้ง ๒ ข้าง ต่อมาพระแก้วมรกตได้ตกไปอยู่ที่เมืองลังกา เมืองกัมโพชา เมืองศรีอยุธยา เมืองละโว้ เมืองกำแพงเพชร และเมืองเชียงราย ตามลำดับ เจ้าเมืองเชียงรายได้เอาปูนทาแล้วลงรักปิดทอง นำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงราย เพื่อซ่อนเร้นจากศัตรู                    เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๙ เกิดฟ้าผ่าที่องค์เจดีย์ ชาวเมืองได้เห็น พระพุทธรูป ปิดทองปรากฎอยู่ คิดว่าเป็นพระพุทธรูปศิลาทั่วไป จึงได้อัญเชิญไปไว้ในวิหารในวัดแห่งหนึ่ง ต่อมาปูนที่ลงรักปิดทองได้กะเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เห็นเป็นเนื้อแก้วสีเขียว จึงได้แกะปูนออกทั้งองค์ จึงพบว่าเป็นพระพุทธรูปแก้วทึบทั้งองค์ ผู้คนจึงพากันไปนมัสการ พระเจ้าสา

พระคู่บารมีของพระพุทธเจ้า

พระแก้วมรกตแกะสลักพร้อมทรงเครื่อง             บางคนอาจสงสัยว่าทำไม พระแก้วมรกตถึงได้รับยกย่องให้เป็นพระพุทธรูปคู่ประเทศไทย เนื่องจาก ประเทศไทย ส่วนใหญ่ นับถือศาสนา พุทธ และ ในประวัติพระพุทธศาสนานั้นพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีพระแก้วประจำองค์ และมีได้ตั้งแต่ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่และจะปรากฎชัดขึ้นตามความเข้มข้นของบารมีที่สร้าง จึงทำให้ในปัจจุบันเป้นที่นิยมสำหรับชาวพุทธ บูชา พระบูชา พระพุทธรูปแกะสลัก หรือ พระแก้วมรกตแกะสลักจากหยกเขียว บูชาไว้ที่บ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลใ้กับตัวเองและครอบครัว 1. พระกกุสันธพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัย เป็นพระโพธิสัตว์  หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์  เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 40,000 พรรษา พระสรีระสูง 40 ศอก หรือ 20 เมตร  บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 10 เดือน พุทธรังสีสร้านไปไกล 10 โยชน์ (160 กิโลเมตร)   พระแก้วประจำองค์ พระแก้วขาว หน้าตักกว้าง 20 วา 2. พระโกนาคมพุทธเจ้า   หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น

พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน

            พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน สิงห์หนึ่ง                     พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน  สร้างในพุทธศตวรรษที่ 16-20 หรือระหว่างปี พ.ศ. 1600 - 2000 โดยเป็นฝีมือของช่างชาวไทยในมณฑลพายัพ แต่มีพบมากและมีความสวยงาม คือ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย นักโบราณคดีจึงใช้ชื่อเมืองเชียงแสนในการกำหนดพุทธศิลป์ และยกย่องว่าเป็นพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ และเข้าถึงศิลป์เชียงแสนอย่างแท้จริง           พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน แบ่งออกเป็น สิงห์หนึ่ง,สิงห์สอง และสิงห์สาม มีผู้กล่าวถึงที่มาของคำว่า สิงห์ ที่หมายถึงความสง่างามของพุทธลักษณะพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนเป็นฝีมือช่างไทย ซึ่งได้เข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในมณฑลพายัพ นักโบราณคดีได้กำหนด พระพุทธรูป สมัยนี้ แบ่งออกเป็นสองรุ่นคือ รุ่นแรก และ รุ่นหลัง  รุ่นแรกทำตามแบบอย่างพระพุทธรูปอินเดีย สมัยราชวงศ์ปาละอินเดีย พ.ศ. ๑๒๗๓-๑๗๔๐ ลักษณะพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกมีลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปอินเดีย ราชวงศ์ปาละ คือ พระองค์อวบอ้วน พระรัศมีเป็นต่อมกลมนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์มารวิชัย พระอุระนูน ชายสังฆาฎิอยู่เหนือราวพระถันพระพักตร์กลมสั้น พระโขนงโก่ง พระ

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

เคล็ดบูชาพระสังกัจจายน์ให้มีโชคลาภร่ำรวย

        พระสังกัจจายน์พระอสีติมหาสาวก "แห่งโชคลาภ" เป็นพระอรหันต์ 1 ใน 80 พระอสีติมหาสาวกในศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร พระมหากัจจายนมีอีกชื่อหนึ่งว่า กัจจานะ (หรือกัจจายนะ) ในญี่ปุ่นรู้จักทั่วไปในชื่อ "คะเซ็นเน็น" (Kasennen) ส่วนในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ " พระสังกัจจายน์ " หรือ "พระสังกระจาย"         พระสังกัจจายน์ มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่ จัดอยู่ในเอตทัคคะ ลักษณะของพระสังกัจจายน์ โดดเด่นมองเห็นก็รู้ว่า เป็นพุทธสาวกองค์ไหน เมื่อสรุปแล้วจะเห็นว่า พุทธสาวกจำนวน ๘๐ องค์ พระเอตทัคคะ ๔๑ องค์นั้น มีเพียงพระสังกัจจายน์ เท่านั้นที่สร้างอย่างโดดเด่น คติการสร้างพระสังกัจจายน์นิยมการสร้างมาก พระสังกัจจายน์จีน แบบมหายาน หินยาน โดยเฉพาะแบบจีน พระสังกัจจายน์จีนนิยมสร้างมากกว่าในเมือง โดยมีคติความเชื่อที่ว่า "ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรืองดีนักแล"