ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กรทำบุญ ทำทานเพื่อประโยชน์คนหมู่มาก บุญจะออกดอกออกผลมากตามไปด้วย


         


             การทำบุญ ทำทานเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มากนั้น เป็นบุญใหญ่หนุนให้มีทรัพย์เร็วมาก! ขอให้พึงสังเกตอะไรอย่างหนึ่ง คนที่รวย นั้นทำไมมักชอบทำบุญกับพระเถระผู้ใหญ่หรือพระผู้มีวัตรปฏิบัติดี ก็เพราะเขารู้ว่า ท่านเหล่านั้น เป็นผู้ที่มีเนื้อนาบุญสูง เพราะเมื่อท่านเหล่านี้เมื่อรับทานมาแล้ว
 
            ท่านจะรีบเอาปัจจัยเหล่านั้นไปสร้างบุญต่อ ทั้งสร้างโรงพยาบาล สร้างวัด โรงเรียน หรือสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์ สงเคราะห์คนหมู่มาก บุญนั้นก็ออกดอก ออกผลมากขึ้นและผู้ที่ทำทานก็จะได้บุญมากขึ้นๆ เพราะทุกคนที่มากราบไหว้มาแสวงบุญ หรือใช้บริการนั้น เขาจะรู้สึกขอบคุณ มีการโมทนาบุญนั้นตลอดเวลา จากหนึ่งเป็นสิบ จากสิบเป็นร้อย จากร้อยเป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านไม่รู้จบ ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า “บุญงอก” ออกมา

          สำหรับท่านที่ชอบสร้างบุญสร้างพระองค์ใหญ่ สิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ด้วยวัตถุที่คงทน ก็ขออนุโมทนาบุญด้วย เพราะเป็นบุญใหญ่มาก เพราะเป็นเหตุให้คนมาสร้างบุญและทุกครั้งที่คนเหล่านั้นมากราบไหว้ มาชำระจิตใจ หรือเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ท่านที่สร้างบุญนี้จะได้”บุญเพิ่ม” ไปตลอดจนกว่า สิ่งก่อสร้างนั้นจะเสื่อมไม่มีคนมากราบไหว้ทำบุญ และขอแนะนำให้ท่านทั้งหลายหมั่นสร้างบุญใหญ่ บริจาคทานกับโครงการในพระราชดำริต่างๆของในหลวง เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์ไปทำกับคนหมู่มากทั้ง 60-70ล้านคน

          หากท่านที่มีกำลังพอที่สามารถสร้างพระประธาน ก็จะเป็นบุญใหญ่มากๆๆ และบุญที่สร้าง จะเกิดอานิสงส์มากขึ้นทวีคูณ  หรือหมั่นสร้างผู้มีคุณธรรมสูง ผู้ปฏิบัติธรรม หรือใครก็ตามที่มาบอกบุญ ขอให้ท่านร่วมสร้างบุญไปเถิด

                   เพราะอานิสงส์บุญนั้นยิ่งใหญ่….เกินกำลังที่เราผู้เป็นปุถุชนจะคาดถึง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี