ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย



พระพุทธรูปแกะสลัก ศิลปะสุโขทัย


ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 17 - 20)


               ศิลปะสุโขทัยเริ่มตั้งแต่เมื่อแคว้นสุโขทัยรับพระพุทธศาสนาเถรวาทจากลังกา ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ศิลปะสุโขทัยจัดได้ว่าเป็นศิลปะไทยที่งดงามที่สุด และมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง โดยเฉพาะพระพุทธรูปสุโขทัยซึ่งมีลักษณะเด่นจนนักวิชาการยกย่องว่าเป็นยุคทองของงานประติมากรรม  ศิลปะพระพุทธรูปสุโขทัยนั้นอาจแบ่งได้เป็น ศิลปะตะกวน ก่อนสุโขทัยมีอิทธิพลของศิลปะขอม ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ ศิลปะสุโขทัยหมวดต่างๆ เช่น หมวดพิษณุโลก หมวดกำแพงเพชร

              ศิลปะของพระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างามอย่างถึงที่สุดได้แก่ “ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์” นอกจากได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปจากประเทศลังกาดังกล่าวแล้ว ยังต้องอาศัยฝีมือของนายช่างไทยในสมัยนั้นที่ได้ใช้จินตนาการอันบรรเจิดในการรังสรรค์พระพุทธรูปที่มีพุทธศิลปะเฉพาะ ซึ่งฉีกแนวคิดออกจากอิทธิพลเดิมๆ จนมาเป็นพระพุทธรูปที่งดงามและถือเป็นศิลปะอันบริสุทธิ์

            ประกอบด้วยพุทธลักษณะที่สำคัญ คือ พระเกศ ทำเป็นอย่างเปลวเพลิงสูง พระศก ขมวดเป็นก้นหอยเล็ก พระพักตร์ เป็นหน้านางหรือหน้ารูปไข่ พระเนตรหลุบต่ำ ทำให้ได้รับความรู้สึกจากพระพักตร์อันเต็มไปด้วยพระเมตตา พระวรกายโดยรวมดูชะลูดอย่างมีทรง และเน้นกล้ามเนื้อดูพองามที่พระนาภี พระกรทั้งสองข้างแสดงปางมารวิชัย ทอดลงมาที่พระเพลาอย่างอ่อนช้อย และเล่นนิ้วพระหัตถ์แต่พองาม ดูไม่แข็งกระด้าง การซ้อนของพระเพลา งอนขึ้นเล็กน้อยและดูรับกันทั้งสองข้าง พระสังฆาฏิ ทอดยาวลงมาเสมอพระนาภี และปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ และฐานองค์พระ ส่วนมากมักทำเป็นลักษณะฐานเขียง นักเล่นพระเรียก “หน้านางคางหยิก” คือหน้างามเยี่ยงอิตถีเพศ ปลายคางมีรอยคล้ายเล็บหยิกลงไป

ข้อมูลพื้นฐานของอาณาจักรสุโขทัย

          สุโขทัยเป็นรัฐโบราณที่อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณตอนกลางพุทธศตวรรษที่ 18 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดพระพายหลวง เป็นรัฐที่มีความสัมพันธ์กับขอมและละโว้ หรือลพบุรีในปัจจุบัน หลักฐานที่เป็นประจักษ์พยานคือ วัดพระพายหลวง วัดศรีสวาย ซึ่งเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ นิกายมหายาน และศาลตาผาแดง ซึ่งเป็นเทวสถาน ต่อมาในสมัยพ่อขุนรามคำแหงได้มีการย้ายเมืองมาตั้งอยู่บริเวณที่เป็นเมืองโบราณสุโขทัยที่รู้จักกันในปัจจุบัน โดยมีศูนย์กลางคือวัดมหาธาตุ เมืองแห่งใหม่นี้ได้สร้างขึ้นทางทิศใต้ของเมืองเก่า มีกำแพงเมืองด้านทิศเหนือติดกับคูเมืองด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัยเดิม
         
         ในทางประวัติศาสตร์สุโขทัยมีความหมายอยู่ 3 ประการคือ ความหมายในฐานะที่เป็นแคว้นโบราณ ความหมายในเชิงศิลปะ และความหมายที่เป็นชื่อเมืองสุโขทัย ซึ่งความหมายในฐานะที่เป็นแคว้นโบราณนั้น สุโขทัยหมายถึง ดินแดนที่ประกอบด้วยเมืองต่างๆโดยมีสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง เมื่อเทียบกับปัจจุบันดินแดนเหล่านี้อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร พิษณุโลก บางส่วนของจังหวัดเพชรบูรณ์ ตาก และอุตรดิตถ์ โดยการรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นขึ้นอยู่กับผู้นำที่เข้มแข็ง ซึ่งการรวบรวมบ้านเมืองในประวัติศาสตร์สุโขทัยนั้นมีทั้งหมด 2 สมัยคือ สมัยพ่อขุนรามคำแหง และสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท

          ศิลปะสุโขทัยเริ่มตั้งแต่เมื่อแคว้นสุโขทัยรับพระพุทธศาสนาเถรวาทจากลังกา ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะสุโขทัยจัดได้ว่าเป็นศิลปะไทยที่งดงามที่สุด และมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง โดยเฉพาะพระพุทธรูปสุโขทัยซึ่งมีลักษณะเด่นคือ พระรัศมีเป็นเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอย พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายจีวรเป็นลายเขี้ยวตะขาบ นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยยังนิยมทำพระพุทธรูปตามอิริยาบททั้งสี่คือ ยืน เดิน นั่ง และนอน ศิลปะสุโขทัยไม่เพียงแต่ทำกันในแคว้นสุโขทัยเท่านั้นแต่ได้ส่งอิทธิพลให้แก่ศิลปะอยุธยา แม้ว่าจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาแล้วก็ตาม 

        

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี