ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)


ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า

              พระพุทธรูป หรือพระบูชาศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
           
               สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
         
                   ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 จนถึงปัจจุบัน  ราชธานีซึ่งสืบต่อมาหรืออยู่ร่วมสมัยระหว่างหลังเมืองพุกามจนถึงสมัยเมืองอังวะ  ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำอิรวดี  พระเจ้าโบดอปยะ (Bodawpaya)  ได้ย้ายราชธานีจากเมืองอังวะไปที่เมืองอมรปุระในต้นพุทธศตวรรษที่ 24  ปัจจุบันได้รวมเป็นเมืองเดียวกันกับมัณฑะเลย์ (สร้างโดยพระเจ้ามินดงเมื่อพ.ศ. 2400)   ซึ่งหลังจากหมดสมัยอาณาจักรพุกามแล้ว   ศิลปกรรมพม่าดูอ่อนด้อยลงไปกว่าสมัยพุกามมาก   สมัยนี้เองที่เริ่มมีการฟื้นฟูศิลปกรรมแบบพม่าขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

                  ในสมัยพระเจ้ามินดง (พ.ศ.2396-2421)  ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2396  ได้ทำไมตรีกับอังกฤษ  พม่าจึงถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ทางภาคใต้  อังกฤษเป็นผู้ปกครอง  เมืองหลวงตั้งอยู่ที่ย่างกุ้ง  และทางภาคเหนือนั้นพม่าเป็นผู้ปกครองเอง  เมืองหลวงอยู่ที่อมรปุระ  ต่อมาพ.ศ. 2400 ได้ย้ายเมืองหลวงมาสร้างใหม่ที่เมืองมัณฑะเลย์  ให้ชื่อว่า กรุงรัตนปุระ ตามชื่อเดิมของเมืองอังวะ   และได้ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา   ต่อมาปีพ.ศ. 2428   ยุคของพระเจ้าสีป่อ  อังกฤษได้ส่งกองทัพเข้ายึดพม่าภาคเหนือที่เมืองมัณฑะเลย์  จับตัวพระเจ้าสีป่อไว้ที่ภาคตะวันตกของอินเดียจนกระทั่งสิ้นพระชนม์   และในปีพ.ศ. 2468  เป็นอันสิ้นสุดสถาบันกษัตริย์ของพม่า

                  ทางด้านศิลปะสมัยหลังได้หันไปเลียนแบบศิลปะแบบประเพณีของพุกาม  การสลักไม้ของพม่าในสมัยมัณฑเลย์นี้ยังคงความงดงาม ซึ่งศาสนาสถานในสมัยนี้นิยมก่อสร้างด้วยเครื่องไม้ มีลวดลายเครื่องประดับอย่างอลังการและประณีตวิจิตรเป็นอย่างยิ่ง  สถาปัตยกรรมอาคารเรือนไม้นิยมสร้างแบบเรือนปราสาทชั้นซ้อนแบบพม่า  ทางพม่าออกเสียงว่า ปะยาทาต (Pyathat)

                  พระพุทธรูปในสมัยหลังพุกามเชื่อว่ามีการก่อสร้างมากมาย   การสร้างพระพุทธรูปจากหินสลัก  ไม้ และโลหะ  สำหรับประติมากรรมได้แกะสลัก (ทั้งที่เป็นประติมกรรมลอยตัวและสภาพสลักนูน)  มักจะปิดทองหรือทาสีหลากสี  ซึ่งเป็นการแสดงอย่างดียิ่งถึงประเพณีของศิลปะพม่าสมัยใหม่นี้    สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนัง  พบว่าเริ่มนำสีวิทยาศาสตร์ (สีสังเคราะห์) มาใช้   เน้นเทคนิคการใช้สีที่สดใส  เช่น สีฟ้า สีเขียว  เชื่อว่าได้รับแนวคิดและวัตถุดิบจากจีน   พม่าอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ.2428-2491  เป็นระยะเวลาถึง 63 ปี   จนกระทั่งวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491   ประเทศอังกฤษประกาศให้เอกราชคืนกับพม่าอย่างเป็นทางการ  มีนายพลอองซาน เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของสหภาพพม่า  และประธานาธิบดีคนแรกเป็นชนกลุ่มน้อยชื่อ “เจ้าฟ้าชเวเทียกสอพวา แห่งเมืองยองห้วย”   ปัจจุบันมีเมืองหลวงชื่อเมืองเนปีดอว์   ย้ายราชธานีจากเมืองย่างกุ้งเมื่อปีพ.ศ. 2548

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี