ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

7 ตำแหน่ง “ปิดทองพระ” ตำแหน่งไหนดีอย่างไร?!

เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือ วันหยุดยาว ที่เหล่าชาวพุทธศาสนิกชน ชาวพุทธอย่างเราๆ คงไม่พลาดที่จะไปเข้าวัด ทำบุญ ให้จิตใจเบิกบานมีสุข สงบ นอกจากที่จะไปทำบุญตักบาตรแล้ว บางท่านก็นิยมไปทำบุญ ทำทานที่วัด ไหว้พระ ปิดทอง ซึ่งชาวพุทธมีความเชื่อมาช้านานว่า การไหว้พระปิดทองนั้น เป็นคติธรรมมุ่งหมายถึงการได้บูรณะต่อองค์พระพุทธปฏิมา เพื่อผลแห่งอานิสงส์ที่มีความเชื่ออีกว่าผู้ที่ได้มีโอกาส  ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดจะมีผิวพรรณผ่องใสงดงาม มีสง่าราศี พวกเราจึงขอนำความรู้ในเรื่องการปิดทองพระในตำแหน่งต่างๆ ว่าดีอย่างไรบ้าง มาให้ทราบโดยทั่วกัน
ปิดทองบริเวณพระเศียร (ศีรษะ) - มีสติปัญญาแหลมคม มีความจำเป็นเลิศ การเรียนดี ฝ่าฝันอุปสรรคในชีวิตไปได้โดยดี
ปิดทองบริเวณพระพักตร์ (ใบหน้า) - จะทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตก้าวหน้าในเรื่องการงาน เจริญรุ่งเรือง
ปิดทองบริเวณพระอุระ (หน้าอก) - ส่งผลให้เกิดสง่าราศี เชื่อว่าจะมีผู้คนชื่นชอบ เป็นที่รักใคร่ของผู้คน โดดเด่น ต้องตา ต้องใจ
ปิดทองบริเวณพระอุทร (ท้อง) - จะส่งผลให้ร่ำรวย มีกินมีใช้ พรั่งพร้อมไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง อุดมสมบรูณ์ทรัพย์
การปิดทองบริเวณพระนาภี (สะดือ) - มีความเชื่อว่าผู้นั้นจะไม่เจอกับความอดอยาก มีเงินมีทองใช้ตลอดชีวิต
ปิดทองบริเวณพระหัตถ์ (มือ) - เป็นการเสริมบารมี จะเป็นที่น่ายกย่อง ผู้คนเคารพยำเกรง
ปิดทองบริเวณพระบาท (เท้า) - ส่งผลให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยที่พักอาศัย และยานพาหนะในการเดินทาง
และที่สุดท้าย ปิดทองบริเวณฐานรองพระองค์ - มีความเชื่อกันว่าจะช่วยส่งเสริมเรื่องเกี่ยวกับการมีอาชีพหรือหน้าที่การงานให้มั่นคง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี