ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

“บุญ” ปัจจัยสำคัญในการไปขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อชีวิตที่ดี!





                 การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็เป็นอีกวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มพลังบุญให้ส่งผลบังเกิดขึ้นกับตัวผู้ที่บูชา การที่ต้องมีบุญเป็นของตัวเอง หรือต้องเร่งสร้างบุญนี้เอาไว้ในยามที่บุญเหลือน้อย เพื่อคลายวิบากกรรมไม่ดีและให้เป็นปัจจัยสำคัญในการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นขอเปรียบเทียบด้วยตัวอย่างง่าย ๆ ในเรื่องของการคลายวิบากกรรมไม่ดี ถ้าบุญนั้นคือ “น้ำ” และวิบากกรรมไม่ดีคือ “ไฟ”  ในเวลาที่เรามีชีวิตที่สงบสุขก็เพราะบุญยังส่งผลมากในชีวิต

                  ก็เหมือนมีน้ำหล่อเลี้ยงให้ชีวิตนั้นชุ่มฉ่ำเบิกบาน ทำอะไรก็สำเร็จได้โดยง่าย แต่พอวิบากกรรมไม่ดีเข้ามาส่งผล ก็เหมือนมีไฟมาลามเลียชีวิตให้ร้อนรน ทุรนทุรายเจียนจะตายเอาให้ได้ และน้ำหรือบุญที่เราเคยมีนั้นเราใช้ไปจนเกือบจะหมดและประมาทไม่เคยคิดจะไปหาน้ำมาเก็บกักตุนไว้ จึงไม่พอที่จะดับไฟนั้นได้

                 ผู้ที่มีปัญญาและอยากจะดับไฟ ก็ต้องรีบไปหาน้ำมาเพิ่มให้มากเพื่อจะดับไฟนั้นให้มอดลงไป หรืออย่างน้อยให้เปลวไฟนั้นเหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้จนความร้อนจากไฟนั้นแทบไม่มีเกิดผลอะไรกับเราเลย และยิ่งมีน้ำมากขึ้นเท่าใด ต่อไปไฟนั้นก็จะจุดไม่ติดอีกเลย
บุญจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการไปขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์!!
ขอให้ลองคิดแบบทางโลกดู เวลาที่เราจะทำการค้าสักอย่าง อย่างน้อยเราต้องมีทุนรอนเป็นของตัวเองบ้าง ไม่ว่าทุนนั้นจะเป็น เงินทอง ปัญญาความสามารถพิเศษ ความขยันขันแข็ง ทุนทางสังคมด้านใดก็ตาม ฯลฯ และเมื่อการค้าเราเกิดปัญหาที่เราแก้ไม่ได้ จึงไปขอให้ผู้ใหญ่ท่านเมตตาช่วย หากเราเป็นคนไม่ดี เป็นคนที่ไม่มีทุนเลยสักอย่าง ความเก่งก็ไม่มี นิสัยก็ไม่เอาไหน ขี้เกียจก็เท่านั้น
เชื่อว่าผู้ใหญ่ท่านมองดูแล้ว ท่านคงไม่ช่วยแน่นอน หากเรามีทุนแล้วมันขาดนิดขาดหน่อย แล้วเป็นคนดี มีความดีเป็นคุณสมบัติที่จะทำการค้าสำเร็จ ผู้ใหญ่ท่านย่อมพิจารณาให้ความช่วยเหลือแน่นอน แต่จะในระดับใดอยู่ที่หลายเงื่อนไข หลายปัจจัยประกอบกันเรานั้นมีความสนิทสนม มีความสำคัญเพียงใดในสายตาของท่าน และสิ่งที่เราไปขอความช่วยเหลือนั้นมีความจำเป็น ถูกต้องแค่ไหน ฯลฯ

บุญบารมีนี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราไม่มีทุนของเราไว้ก่อนไม่เคยคิดจะทำไม่เคยสร้างไว้ เราก็เหมือนเราเป็นคนที่เชื่อถือไม่ได้ ไม่คิดที่จะทำอะไรเป็นทุนเอาไว้ เอาแต่จะแบมือขอ ซึ่งท่านก็ไม่อาจจะช่วยได้เพราะเราไม่ได้ทำอะไรไว้เลยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ที่เราจำต้องสร้างบุญไว้เมื่อมีทุนของตัวเองแล้วเมื่อไปขอความช่วยเหลือใครเขา ท่านก็ย่อมพิจารณามีสิทธิ์ที่จะให้ความเมตตาช่วยเหลือกว่าคนที่ไม่มีบุญเลย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี