ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"พระหินเรืองแสง" หนึ่งเดียวในไทย ควรค่าแก่การบูชา



           หินเรืองแสง หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Adamite” ได้มาจากนักธรณีวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ G.J. Adam ซึ่งเป็นผู้คนพบหินเรืองแสงนี้ในชิลี ในธรรมชาติมักพบหินเรืองแสงเป็นสีเขียวอมเหลืองอันเกิดจากมลทินของแร่ทองแดง หรือสีชมพูอมม่วงอันเกิดจากมีแร่โคบอลท์เป็นมลทิน สีที่หายากที่สุดคือสีขาวซึ่งจะมีความวาวและสว่างมากที่สุด หินเรืองแสงสามารถพบได้ใน ชิลี, นามีเบีย, เม็กซิโก, ยุโรป และแคลิฟอร์เนียในอเมริกา


        หินเรืองแสงจะมีปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Fluorescent สามารถเรืองแสงได้เมื่ออยู่ภายใต้แสงอัลตราไวโอเล็ตหรืออยู่ในที่มืด เนื่องจากอะตอมที่อยู่ภายในโครงสร้างผลึก สามารถดูดซับพลังงานและปลดปล่อยออกมาเมื่ออยู่ภายใต้แสงอัลตร้าไวโอเล็ตหรือในที่มืดจึงทำให้เกิดปรากฎการณ์เรืองแสงขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งจนกว่าอะตอมนั้น ๆ จะปลดปล่อยพลังงานออกมาจนหมดการเรืองแสงจึงจะหายไป


        เชื่อว่าหินเรืองแสงเป็นหินแห่งความสุข ความคิดสร้างสรรค์ ความกระตือรือร้น ช่วยปรับการทำงานของหัวใจ ช่วยกระตุ้นทั้งจิตใจและร่างกายให้เป็นปกติ  หินเรืองแสง เป็นหินหายากและมีราคาแพง เหมาะกับการสะสม หินชนิดนี้มีลักษณะแปลกประหลาดที่สามารถดูพลังงานไฟหรือแสงอาทิตต่างๆได้ และเมื่อเก็บพลังส่วนนี้ไว้แล้วเมื่ออยู่ในที่มืดสามารถเรืองแสงเป็นสีเขียวได้ในที่มืดอยู่ได้นาน และเมื่อแสงหมดก็ต้องการรับพลังงานแล้วสามารถที่จะเรืองแสงได้ใหม่อีก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี