ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

12 ขั้นตอนการรู้ตามซึ่งสัจจธรรม


12 ขั้นตอน การรู้ตามซึ่งสัจจธรรม

ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด ทางมีองค์แปด
เป็นทางอันประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย.
บทแห่งอริยสัจสี่ ประเสริฐกว่าบททั้งหลาย.
วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย.
ผู้มีพุทธจักษุ ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย.
นี่แหละทางเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ ทาง อื่นมิได้มี.
เธอทั้งหลาย จงเดินตามทางนั้น อันเป็นที่หลงแห่งมาร ;
เธอทั้งหลาย เดิน ตามทางนั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ทางเราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย เพื่อการรู้จักการถอนซึ่งลูกศร;
ความเพียรเป็น กิจอันเธอทั้งหลายพึงกระทำ ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอก(วิธีแห่งการกระทำ).
ผู้ มุ่งปฏิบัติแล้วย่อมพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.
เมื่อใด บุคคลเหห็นด้วยปัญญาว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง";
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ :
นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด. เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า
"สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์":
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ : นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา";
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ :
นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
ลำดับการปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล ภิกษุ ท.!
เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตต ผล ด้วยการ กระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว.
ภิกษุ ท.! ก็แต่ว่า การประสบความพอใจใน อรหัตตผล
ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะ การปฏิบัติโดยลำดับ.
ภิกษุ ท.! ก็การประสพความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมี ได้เพราะการศึกษา โดยลำดับ
เพระการกระทำโดยลำดับเพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติ โดยลำดับ นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท.! บุรุษบุคคลในกรณีนี้ : เป็นผู้มี สัทธา เกิดขึ้นแล้ว ย่อม เข้าไปหา(สัปบุรุษ) ;
เมื่อเข้าไปหา ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ; เมื่อเข้าๆไปนั่งใกล้ ย่อม เงี่ยโสตลงสดับ ;
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม ; ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้,
ย่อม ใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรม ทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้ ;
เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่,
ธรรมทั้งหลายย่อมทน ต่อการเพ่งพิสูจน์;
เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่ ฉันทะ(ความพอใจ)ย่อมเกิด;
ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อมมีอุตสาหะ;
ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อม ใช้ดุลยพินิจ (เพื่อหาความจริง);
ครั้นใช้ดุลยพินิจ(พบ)แล้ว ย่อมตั้งตนไว้ในธรรม นั้น;
ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่ ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วย,
ย่อมเห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย

 -ม. ม. ๑๓/๒๓๓/๒๓๘

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ             พระพุทธรูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วนหนึ่ง เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของ การสร้างพระพุทธรูป  เพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร              ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆ ปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง 6 ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัย สมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปางด้วย             ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง 4 ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น 8 ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก 4 แห่ง เป็น 8 แห่ง ที่เรียกว่า อ

พระบูชา ศิลปะพม่า (พระพุทธศรีศากยมุนี)

ประวัติศาสตร์  พุทธศาสนา และศิลปะพม่า               พระพุทธรูป หรือพระบูชา ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย  เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า                            สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์   ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด  เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง  ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ   จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                              ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่

พระพุทธรูปปางประจำปีเกิด

พระพุทธรูปประจำปีเกิด             คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแต่ พระพุทธรูปประจำวันเกิด วันนี้เลยขอนำเรื่องของพระพุทธรูปประจำปีเกิด มาแนะนำ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ( การนับจะนับตามเดือนไทย ไม่ได้นับตามเดือนฝรั่ง คือจะเริ่มจากเดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 ก็จะเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งจะถือว่าเป็นเดือนแรกของปี หลังจากนั้นก็ให้นับไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 เดือนค่ะ) ปีชวด ปางโปรดอาฬวกยักษ์ หรือ ปางโปรดสัตว์  ปีฉลู ปางห้ามสมุทร และ ปางโปรดพุทธมารดา  ปีขาล ปางโปรดพกาพรหม  ปีเถาะ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต หรือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ และ ปางปัจเวกขณ์  ปีมะโรง ปางโปรดองคุลีมารโจร  ปีมะเส็ง ปางรับอุทกัง  ปีมะเมีย ปางสนเข็ม  ปีมะแม ปางประทานพร  ปีวอก ปางทรงสุบิน, ปางรับมธุปายาส, ปางเสวยมธุปายาส  ปีจอ ปางชี้อัครสาวก  ปีกุน ปางโปรดพญาชมพูบดี